สัปดาห์ที่ 7
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยจินตนา สุขสำราญ
วันที่ 30 กันยายน 2557
ครั้งที่ 7 กลุุ่่่่่่่มเรียน 103
เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. ห้องเรียน 435
กิจกรรมในห้องเรียน
่
อาจารย์ให้พับกระดาษตามรูปที่ 1 แบ่งเป็นแถวที่จัดนั่งเรียงตามเลขที่
รูปที่ 2 คือเพื่อนออกไปโยนกระดาษที่พับหน้าชั้นเรียนเพื่อนบางคนสามารถโยนแล้วกระดาษหมุนได้แต่บางคนโยนกระดาษแล้วไม่สามารถหมุนได้สาเหตุที่เกิดเพราะ วิธีการโยน การพับกระดาษ แรงโน้มถ่วงที่โยนกระดาษที่น้ำหนักตอนโยนของแต่ละคนทำไม่เท่ากันทำให้บางคนกระดาษสามารถหมุนได้บางคนกระดาษไม่สามารถหมุนได้
กิจกรรม วิทยาศาสตร์จากแกนกระดาษทิชชู
รูปที่ 1
รูปที่ 2
รูปที่ 3
รูปที่ 4
รูปที่ 5
อุปกรณ์
1.แกนกระดาษทิชชู
2.ไหมพรมหรือเชือกอะไรก็ได้
3.กระดาษสี สีไม้ สีเมจิ
4.ที่หนีบกระดาษ กาว
วิธีการทำ
1.ตัดแกนกระดาษทิชชูแบ่งครึ่ง
2.ใช้ที่หนีบกระดาษมาเจาะแกนกระดาษทิชชูให้เป็นรูแบบรูปภาพที่ 2
3.นำไหมพรมมาร้อยตรงรูที่เราเจาะบนแกนกระดาษทิชชูแบบรูปภาพที่ 3
4.ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมแล้ววาดรูปภาพอะไรก็ได้แล้วนำมาแปะบน
แกนกระดาษทิชชู
นางสาวสรวจกมล สุเทวี
บทความเรื่อง : หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่ ?
ที่มา : นิตยสาร สสวท.
หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยเป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่
สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน
โดยไม่จำเป็นต้อง แยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์
เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง
เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ
และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน
รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบผลจากการติดตามการทดลองใช้
พบว่าครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
ไปจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรรู้ได้ในทุกสาระโดยสอดแทรก
เข้าไปในทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสม่ำเสมอได้
แต่สิ่งที่ครูยังมีความต้องการนั้น
ครูยังต้องการตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เยอะ ๆ ซึ่ง สสวท.
กำลังพัฒนาส่วนนี้อยู่
อ. ชุติมา
กล่าวหลังจากนั้นได้จัดอบรมครูทั่วประเทศไปแล้วในปี พ.ศ. 2552ที่อุดรธานี เชียงใหม่ ภูเก็ต และระยอง
ต่อจากนี้จะจัดอบรมให้แก่ศึกษานิเทศก์ทั่วประเทศเขตพื้นที่ละหนึ่งคน
เพื่อที่จะให้ศึกษานิเทศก์ได้เป็นผู้ที่คอยให้คำแนะนำช่วยเหลือแก่ครูส่วน
การดำเนินงานเกี่ยวกับหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยในอนาคต หลังจากที่ สสวท.
จัดทำคู่มือการใช้หลักสูตรเสร็จแล้ว ก็คือการชักชวนพันธมิตร เช่น
ภาควิชาปฐมวัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งมีอยู่ทั่วทุกประเทศ
เป็นศูนย์การอบรมครูปฐมวัย และในขณะเดียวกัน สสวท.
และคณะที่เป็นนักการศึกษาปฐมวัยที่เป็นผู้เริ่มต้นโครงการนี้ก็จะถอยมาเป็น
ผู้อบรมวิทยากรอีกทีหนึ่ง “ทุก
ประเทศในโลกจะสอนปฐมวัยในเชิงบูรณาการ ก็คือจะบูรณาการทุกวิชาไว้ด้วยกัน
เพราะถือว่าเด็กจะต้องพัฒนาเป็นองค์รวม
แต่การที่ครูจะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการพัฒนาเด็กเป็นองค์รวมนั้น
จะต้องมีมาตรฐานเป็นที่ตั้งในของแต่ละสาระ เช่น คณิตศาสตร์ควรจะเรียนแค่ไหน
วิทยาศาสตร์ควรจะเรียนแค่ไหน
ครูก็จะยึดเอากรอบมาตรฐานมาจัดทำเป็นหลักสูตรบูรณาการปฐมวัยของตัวเอง
ทุกประเทศจะเป็นแบบนี้ รวมทั้งประเทศเราด้วย” อ.ชุติมากล่าวทิ้งท้าย
บทความของเำพื่อน
1.สะกิดให้ลูกคิดแบบแนววิทยาศาสตร์
2.เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
3.ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก
4.สนุกสนานเรียนรู้ได้ทุกวิชาจากเด็กปฐมวัย
เพิ่มเติม
ลม(Wind) หมายถึง อากาศที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางในแนวราบ เกิดจากการแทนที่ของอากาศ
เนื่องจากอากาศในบริเวณที่ร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น
ในขณะที่อากาศบริเวณใกล้เคียงที่อุณหภูมิต่ำกว่าจะเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่
เมื่อมีการเคลื่อนไหวของอากาศที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันของความ
กดอากาศ
อากาศบริเวณที่มีความกออากาศสูงจะเคลื่อนที่เข้ามายังบริเวณที่มีความกด
อากาศต่ำมวลอากาศที่เคลื่อนที่เราเรียกว่า "ลม" จึงกล่าวได้ว่า ลม
เกิดจากการเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่มีความกด
อากาศต่ำนั่นเอง
โดยการเคลื่อนที่ของลมจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความแตกต่างของความกดอากาศ
สูง และความกดอากาศต่ำ ถ้ามีความแตกต่างกันน้อยลมที่เกิดขึ้นจะเป็นลมเอื่อย
และถ้ามีความแตกต่างกันมากจะกลายเป็นพายุได้ ดังนั้นการเกิดลม
เป็นปรากฏการณ์ที่อากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น
และอากาศเย็นเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่
นอกจากนั้นการหมุนเวียนของลมบนโลกเป็นกลไกในการช่วยกระจายพลังงานความร้อน
จากดวงอาทิตย์ ให้เฉลี่ยทั่วถึงโลก
และช่วยพัดพาเอาความชุ่มชื้นจากพื้นน้ำมาสู่พื้นดิน
อากาศ คือ อากาศอยู่รอบตัวเราเสมอ เราสามารถรู้ว่ามีอากาศอยู่รอบๆตัวเราได้โดยการโบกมือไปมา กระแสลมที่เกิดขึ้นและปะทะกับฝ่ามือของเราก็แสดงว่าอากาศมีอยู่จริงหรือถ้าเรายืนอยู่ในที่ที่มีลมพัดผ่าน เราจะสามารถรู้ว่ามีอากาศหรือลมพัดผ่านมาถุกตัวเรา แรงลมสามารถทำให้เกิดคลื่นน้ำได้หรือหมุนกังหันลมได้
ส่วนประกอบของอากาศ
ส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจน ก๊าซออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซต์และโอโซนอากาศมีอยู่รอบตัวเราทุกหนทุกแห่ง อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติ ไม่มีกลิ่น
ความสำคัญของอากาศ
1.มีก๊าซที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ พืชและสัตว์
2.ทำให้เกิดลมและฝน
3.มีอิทธิพลต่อการเกิด ปริมาณ และคุณภาพของทรัพยากรอื่นๆเช่น ป่าไม้และ
แร่ธาตุ
ข้อควรระวัง
1.ลดปริมาณสารทำให้อากาศเสีย เช่น ฝุ่นละอองหรือสารพิษ
2.ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เช่น ไม่เผาป่า ฟางข้าวหรือขยะมูลฝอย
3.อนุรักษ์ป่าไม้ไม่ตัดไม้ทำลายป่าเพื่อช่วยลดอากาศเสียและทำให้ไม่เกิดน้ำท่วม
และไฟไหม้ป่า
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกต้องเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมเพราะชอบกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ปฎิบัติ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนแต่งกายถูกต้องเรียบร้อย เพื่อนทุกคนสนุกและตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ปฎิบัติทุกคน
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการเตรียมการสอนมาดีทุกครั้ง มีกิจกรรมมาให้ทำทุกสัปดาห์ทำให้นักศึกษาสนุกไปกับการที่ได้ทำกิจกรรม