วิจัยเรื่อง : การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ
ความพร้อมของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โครงการจัด
ประสบการณ์แบบโครงการ
ชื่อผู้วิจัย : ศุภวารี ศรีนวล
ตัวแปรต้น : โครงการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
ตัวแปรตาม : การพัฒนาทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1.ทักษะการสังเกต หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัส
อย่างใดอย่างหนึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น
ผิวกายเข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์
2.ทักษะการจำแนก หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสส่วนใด
ส่วนหนึ่งของร่างกายจัดสิ่งต่างๆให้เข้าอยู่ในประเภทเดียวกัน
3.ทักษะการแสดงปริมาณ หมายถึง ความสามารถในการรู้จัก
ประมาณสิ่งของต่างๆว่ามีอยู่เท่าไร
4.ทักษะการสื่อความหมาย หมายถึง การจัดกิจกรรมที่ฝึกให้
เด็กมีทักษะในการเสนอข้อมูลต่างๆในรูปแบบการพูด
ภาษาเขียน รูปภาพ
5.ทักษะการลงความเห็นของข้อมูล หมายถึง การเพิ่มเติม
ความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผลโดยอาศัย
ความรู้หรือประสบการณ์เดิม
6.การหามิติสัมพันธ์ หมายถึง การหาความสัมพันธ์ระหว่าง
มิติต่างๆที่เกี่ยวกับสถานที่รูปทรง ทิสทาง เวลา
รวมทั้งความสัมพันธ์ของรูปร่างระหว่างสองกับสามมิติ
ชื่อโครงการ ถั่วงอก
ระยะที่ 1 วางแผนและเริ่มต้นโครงการ
คุณครูกำหนดหัวข้อโครงการการปลูกถั่วงอกขึ้นมาคุณครูให้เด็กๆนำเสนอประสบการณ์เกี่ยวกับถัวงอกโดยการวาดภาพระบายสีถัวงอกทีเด็กรู้จักจากนั้นได้กำหนดขั้นตอนวิธีการในการปลูกถัวงอกเด็กๆตั้งคำถามเกี่ยวกับการปลูกถัวงอก
ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ
เด็กๆต่างมีความคิดในการปลูกถั่วงอกที่แตกต่างกันออกไปตามความคิดเห็นของตนเองคุณครูจึงพาเด็กๆไปค้นคว้าหาความรู้ถึงวิธีการปลูกถั่วงอกและขั้นตอนในการดูแลรักษาถั่วงอกและคุณครูพาเด็กๆไปที่แปลงเพาะชำและสังเกตถั่วงอกหลังจากนั้นคุณครูอธิบายให้เด็กๆฟังว่าถั่วงอกสามารถปลูกในน้ำได้แต่เราจะนำมาปลูกในดิน เด็กๆมีส่วนร่วมในการนำขวดน้ำเปล่ามาคนละหนึ่งขวดเพื่อนำสิ่งของเครื่องใช้เพื่อนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์อุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูก ได้แก่ ถั่วเขียว ดินทราย ขวดน้ำเปล่าและคุณครูได้อธิบายวิธีการให้เด็กๆฟังก่อนที่จะลงมือ
ปฏิบัติจริง
ระยะที่ 3 สรุปและอภิปรายผลโครงการ
คุณครูให้เด็กๆเฝ้าดูการเจริยเติบโตต้นถั่วงอกของตัวเองและครูและเด็กๆตกลงกันว่าจะเสนอผลงานของตนเองและบันทึกการเจริญเติบโตของต้นถั่วงอกของตัวเองและนำมาเสนอหน้าชั้นเรียน
โทรทัศน์ครู สนุกวิทย์กับครูสง่า
คุณครูสง่า ทรัพย์เฮง.
โรงเรียนดาราคาม
คุณครูได้บอกถึงเทคนิคในการนำเข้าสู่บทเรียนจะต้องสร้างแรงกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนและทำยังไงให้เด็กได้ประโยชน์ เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียนในวิทยาศาสตร์เรียกว่า การสร้างแรงจูงใจ
การสอนเรื่องขวดประดาน้ำ โดยใช้สื่อปลอกปากกาถ่วงลอยในขวดน้ำดื่ม แสดงการจม การลอยของมวลปลอกปากกา เปรียบเทียบกับเรือดำน้ำทำไมมันถึงจมได้เพราะความหนาแน่นของวัตถุมีมวลมากความหนาแน่นมากกว่าน้ำทำให้จมได้ ทำไมมันถึงลอยได้เพราะวัตุมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำทำให้เกิดการลอยตัวและลอยได้
การลอยของไข่ไก่โดยคุณครูได้ทดลองให้นักเรียนดูโดยการนำแก้วมา 2 .ใบใส่น้ำเต็มแก้วนำไข่ไก่ไปลอยแก้วที่ 1 ไข่ไก่จมและนำไปลอยในแก้วที่ 2 ไข่ไก่จมคุณครูจึงถามเด็กๆแต่ละกลุ่มว่าทำไมไข่ไก่ลอยได้เด็กกลุ่มที่ 1 ว่าที่ไข่ไก่ลอยได้เพราะใส่เกลือลงไปทำให้เพิ่มปริมานในน้ำ กลุ่มที่ 2 ตอบว่าใส่น้ำตาล
กลุ่มที่ 3 ตอบว่าใส่น้ำส้มสายชู คุณครูจึงให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทดลองว่าสิ่งที่เด็กตอบมามันสามารถทำให้ไข่ไก่ลอยได้หรือไม ? หลังการทดลองน้ำส้มสายชู น้ำตาล เกลือสามารถทำให้ไข่ไก่ลอยได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น