วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมครั้งที่ 6


สัปดาห์ที่ 6

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาร์ยผู้สอน  อาจาร์ยจินตนา สุขสำราญ
วันที่ 23 กันยายน 2557
ครั้งที่ 6  กลุุ่มเรียน 103
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. ห้องเรียน 435


กิจกรรมในห้องเรียน 


ควาสัมพันธ์เกี่ยวกับก้อนเมฆกับพระอาทิตย์


ชิ้นงานของเพื่อนๆในชั้นเรียน

วิธีการทำ

1.อาจารย์แจกกระดาษหนังสือคนละหนึ่งแผ่น
2.พับกระดาษแบ่งครั้งให้เท่ากัน
3.วาดรูปที่มันมีความสัมพันธ์กันเช่น ก้อนเมฆกับพระอาทิตย์วาดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
4.ตกแต่งระบายสีให้สวยงาม
5.นำไม้เสียบลูกชิ้นมาวางไว้ตรงกลางกระดาษติดด้วยเทปใส
6.นำเทปใสมาติดตรงปลายกระดาษเพื่อให้กระดาษปะกบกันได้

อุปกรณ์

1.กระดาษสี
2.ไม้เสียบลูกชิ้น
3.กาว , เทปใส
4.สีเมจิ , สีไม้


กิจกรรมส่องกล้องจากแกนกระดาษทิชชู


Cr.Chutimon Saino 

  จากกิจกรรมนี้ได้ต่อเนื่องจากกิจกรรมความลับของแสงที่อาจารย์ได้ให
 นักศึกษาดูวีดีโอแล้วนำมาบันทึกในกิจกรรมครั้งที่ 5 จากที่ส่องกล้องมีทั้ง
  หมด4 สีคือสีแดง สีเขียว สีเหลือง สีน้ำเงิน


My Mapping เรื่องสับประรด <Pineapple>



   จากกิจกรรมนีอาจารย์ได้ให้จับกลุ่มกลุ่มละ 5 คนนำเสนอเรื่อง
อะไรก็ได้แล้วนำมาทำเป็น My Mapping ยกตัวอย่างเช่นเรื่องสับประรด
 สับประรดมีลักษณะ ส่วนประกอบ พื้นผิว รุปร่าง ประโยชน์อะไรบ้าง

 นางสาวอนิทิมล เสมมา



บทความเรื่อง : การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆกับคุณหนูๆ

อุปกรณ์


1.ปากกาหมึกซึม

2.น้ำส้มสายชูหรือน้ำมะนาว

3.กระดาษ

4.ไดร์เป่าผม

วิธีการทดลอง


1.จุ่มปากกาลงในน้ำส้มสายชูหรือน้ำมะนาวก่อนที่จะเริ่มต้นการเขียน
  แล้วเขียนตัวอักษรลงไปในกระดาษ

2 ผึ่งกระดาษไว้ให้แห้ง

3.ใช้ไดร์เป่าผมเป่ากระดาษไปเรื่อยๆแล้วตัวอักษรจะค่อยๆปรากฏขึ้น

  
ทักษะที่ได้รับในการทดลอง

  1. ทักษะการมอง โดยการสังเกตขนาด สี รูปร่าง และองค์ประกอบ
  1. ทักษะการฟังเพื่อเพิ่มความสามารถในการแยกระดับเสียงที่แตกต่างกัน
  1. ทักษะการดมเพื่อให้สามารถแยกแยะกลิ่นที่แตกต่างกัน
  1. ทักษะการลิ้มรสช่วยในการรับรู้รสชาติที่แตกต่างของอาหาร

    บทความของเพื่อน  

    1.บทความเรื่องแนวทางการสอนคิด เติมคณิตให้เด็กอนุบาล
    2.บทความเรื่องการทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆกับคุณหนูๆ 
    3.บทความเรื่องสอนลูกเรื่องพืช <Plants>
    4.บทความเรื่องการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย

    เฟรดริค วิสเฮม เฟรอเบล ผู้นำการศึกษาอนุบาลที่ได้รับขนานนามว่าเป็น “บิดาการศึกษาปฐมวัย” ด้วยการพัฒนาโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกขึ้นในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1837 เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีรูปแบบ กำหนดให้มีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสำหรับการศึกษาปฐมวัย มีการฝึกหัดครู รวมถึงการพัฒนาการสอนเด็กปฐมวัยด้วยการผลิตอุปกรณ์การสอน ที่เรียกว่า ชุดอุปกรณ์ และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียกว่า การงานอาชีพ
    เฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในสิ่งดีงาม มาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียนโดยเฉพาะประสบการณ์ที่ได้มาจากการเล่น ด้วยเหตุผลนี้เฟรอเบลจึงใช้พื้นฐานความพร้อมของเด็กในการเรียน พัฒนาการตามช่วงอายุ ธรรมชาติของเด็กและเหตุผลทางคณิตศาสตร์ที่เฟรอเบลมีความสนใจมาจัดทำเป็นชุดของเล่นและกิจกรรมสำหรับเด็กที่สอดคล้องกับวัยของเด็กโดยเรียกชื่อว่า ชุดอุปกรณ์ (Gifts) และการงานอาชีพ (Occupations)
    ชุดอุปกรณ์ หมายถึง อุปกรณ์สำหรับเด็กใช้เล่นเพื่อการเรียน ตามแนวการสอนของครู เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่าง ขนาด สี และมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับการวัด นับ การจำแนก และเปรียบเทียบ ชุดอุปกรณ์นี้ประกอบด้วยวัสดุสัมผัสได้จำนวน 10 ชุด
    การงานอาชีพ หมายถึง กิจกรรมที่ออกแบบมาใช้ในการพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น ปั้นดิน การตัด ร้อยลูกปัด การทำขนม การพับ เป็นต้น
    เฟรอเบลเปรียบเทียบการสอนเด็กว่าเหมือนกับการเพาะเมล็ดพืชที่ผู้ปลูกต้องดูแลให้เม็ดงอกงามขึ้นเป็นต้นแตกกิ่งใบและดอกผลที่สมบรูณ์ เช่นกับการพัฒนาเด็กที่ดีต้องสอดคล้องผสมผสานกลมกลืนไปกับธรรมชาติของเด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้จากง่ายไปยาก ตามความสนใจของเด็กโดยครูต้องมีแผนการสอนที่สอดคล้องกับวัย พัฒนาการและความพร้อมของเด็กในการเรียน เปิดโอกาสให้เด็กลงเล่นมือชุดอุปกรณ์อย่างอิสระ รวมถึงครูต้องประเมินพัฒนาการของเด็กโดยการสังเกตจากการทำกิจกรรมประจำวัน ในการจัดการเรียนการสอนนี้ ตารางกิจกรรมประจำวันมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเฟรอเบลเป็นผู้พัฒนาตารางกิจกรรมประจำวันขึ้น เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาที่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านคือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา แนวคิดตารางกิจกรรมประจำวันนี้จึงได้นำมาใช้ในการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน ดังนั้นการนำตารางกิจกรรมประจำวันมาใช้ สิ่งที่ครูต้องคำนึงถึงคือ “การบูรณาการ” ครูอาจผสมผสานกิจกรรมต่างๆเข้ากับการเรียนด้วยการเล่นอย่างมีความสุขนั้นก็ คือ หัวใจการศึกษาปฐมวัย
    ประเมินตนเอง

    เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถกต้องเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมความ
    สัมพันธ์มากเพราะชอบเรียนปฎิบัติมาก

    ประเมินเพื่อน

     เพื่อนคุยกันตอนอาจารย์เปิดเพลงทำให้ไม่ค่อยเข้าใจเนื้อหา แต่งช่วงทำกิจกรรมที่ต้องปฎิบัติ
    เพื่อนให้ความสนใจมาก

    ประเมินอาจารย์  

    อาจารย์เตรียมเนื้อหาการสอนมาดีมาก อาจารย์จะใช้วิธีการตั้งคำถามแล้วกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจกับเนื้อหาที่้ตรียมมา








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น