หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่
หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยเป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้านโดยไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้นเป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆและควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
อาจารย์ชุติมาเตมียสถิตหัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษาสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสสวท.หนึ่งในทีมงานที่ริเริ่มโครงการนี้กล่าวถึงที่มาของการจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยว่าจากการเยี่ยมชมโรงเรียนปฐมวัยทุกสังกัดทั่วประเทศระหว่างปีพ.ศ.2548–2549พบว่าครูปฐมวัยได้สอนวิทยาศาสตร์ในเชิงเนื้อหามากมายโดยผ่านการบอกเล่ามากกว่าที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็นและมีความกระตือรือร้นที่จะสำรวจตรวจสอบหาคำตอบ เนื้อหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ครูสอนถูกแนวคิด(concept)บ้างไม่ถูกบ้างและจากการสัมภาษณ์ครูถึงแนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ของครูพบว่าครูได้ใช้หลักสูตรปฐมวัยพ.ศ2546ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นแนวทางซึ่งได้กำหนดไว้อย่างกว้างๆในสาระที่ควรรู้4สาระปัญหาที่ครูต้องคิดต่อจากหลักสูตรนี้คือครูจะต้องตอบโจทย์ให้ได้ในว่าแต่ละสาระครูจะสอนอะไรสอนแค่ไหนสอนอย่างไรและมีสื่อการเรียนรู้อะไรบ้างที่ควรนำมาใช้
สสวท.จึงได้รวบรวมข้อคิดเห็นเหล่านี้และได้ตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิของประเทศเช่นหม่อมดุษฎี บริพัตร ณอยุธยา หม่อมหลวงอนงค์ นิลอุบล อาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นนักการศึกษาด้านปฐมวัยแพทย์นักจิตวิทยาและนักวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษาสสวท.มาร่วมวิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัยปีพ.ศ.2546หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยของต่างประเทศและวิเคราะห์มาตรฐานหลักสูตรสาระวิทยาศาสตร์ประถมศึกษาจากนั้นได้ร่วมกันจัดทำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยเพื่อเป็นแนวทางให้ครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550
เมื่อเสร็จแล้วได้นำกรอบมาตรฐานนี้ไปทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศโดยเชิญผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาปฐมวัยทุกภาคส่วนร่วมประชุมพิจารณ์หลักสูตรกรอบมาตรฐานหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยในปี พ.ศ.2551 “การเรียนวิทยาศาสตร์ในชั้นปฐมวัยนั้นไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาแต่มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เรื่องกระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งประกอบไปด้วยการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัวการตั้งคำถามการหาวิธีที่จะตอบคำถามโดยใช้ทักษะการสังเกตตามวัยของเด็กเมื่อเด็กได้พัฒนาทักษะในการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่ายๆตามวัยของเขาก็จะทำให้เขามีเครื่องมือสำคัญที่จะแก้ปัญหาในอนาคตของตัวเองได้เพราะเด็กจะเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผลและได้พัฒนาทักษะในการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูลสามารถที่จะเรียนรู้จากสิ่งรอบๆตัวได้ถือว่าเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตของเด็กๆในการเรียนรู้ต่อไป”ผลจากการติดตามการทดลองใช้พบว่าครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยไปจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรรู้ได้ในทุกสาระโดยสอดแทรกเข้าไปในทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสม่ำเสมอได้แต่สิ่งที่ครูยังมีความต้องการนั้นครูยังต้องการตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เยอะๆซึ่งสสวท.กำลังพัฒนาส่วนนี้อยู่
“เราได้ทดลองแล้วพบว่ากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยนั้นตอบโจทย์ครูได้ว่าในการสอนบูรณาการวิทยาศาสตร์ครูจะสอนอะไรจะสอนแค่ไหนจะสอนอย่างไรและจะใช้สื่อรอบๆตัวเด็กนั้นมาเป็นสื่อในการเรียนรู้อย่างไรเพราะฉะนั้นคุณครูมีแนวทางสามารถที่จะจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัยได้แน่นอน”อ.ชุติมา กล่าว
“ทุกประเทศในโลกจะสอนปฐมวัยในเชิงบูรณาการก็คือจะบูรณาการทุกวิชาไว้ด้วยกันเพราะถือว่าเด็กจะต้องพัฒนาเป็นองค์รวมแต่การที่ครูจะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการพัฒนาเด็กเป็นองค์รวมนั้นจะต้องมีมาตรฐานเป็นที่ตั้งในของแต่ละสาระเช่นคณิตศาสตร์ควรจะเรียนแค่ไหนวิทยาศาสตร์ควรจะเรียนแค่ไหน ครูก็จะยึดเอากรอบมาตรฐานมาจัดทำเป็นหลักสูตรบูรณาการปฐมวัยของตัวเองทุกประเทศจะเป็นแบบนี้ รวมทั้งประเทศเราด้วย” อ. ชุติมากล่าวทิ้งท้าย
ที่มา : นิตยสาร สสวท.www.ipst.ac.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น