วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมครั้งที่ 6


สัปดาห์ที่ 6

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาร์ยผู้สอน  อาจาร์ยจินตนา สุขสำราญ
วันที่ 23 กันยายน 2557
ครั้งที่ 6  กลุุ่มเรียน 103
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. ห้องเรียน 435


กิจกรรมในห้องเรียน 


ควาสัมพันธ์เกี่ยวกับก้อนเมฆกับพระอาทิตย์


ชิ้นงานของเพื่อนๆในชั้นเรียน

วิธีการทำ

1.อาจารย์แจกกระดาษหนังสือคนละหนึ่งแผ่น
2.พับกระดาษแบ่งครั้งให้เท่ากัน
3.วาดรูปที่มันมีความสัมพันธ์กันเช่น ก้อนเมฆกับพระอาทิตย์วาดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
4.ตกแต่งระบายสีให้สวยงาม
5.นำไม้เสียบลูกชิ้นมาวางไว้ตรงกลางกระดาษติดด้วยเทปใส
6.นำเทปใสมาติดตรงปลายกระดาษเพื่อให้กระดาษปะกบกันได้

อุปกรณ์

1.กระดาษสี
2.ไม้เสียบลูกชิ้น
3.กาว , เทปใส
4.สีเมจิ , สีไม้


กิจกรรมส่องกล้องจากแกนกระดาษทิชชู


Cr.Chutimon Saino 

  จากกิจกรรมนี้ได้ต่อเนื่องจากกิจกรรมความลับของแสงที่อาจารย์ได้ให
 นักศึกษาดูวีดีโอแล้วนำมาบันทึกในกิจกรรมครั้งที่ 5 จากที่ส่องกล้องมีทั้ง
  หมด4 สีคือสีแดง สีเขียว สีเหลือง สีน้ำเงิน


My Mapping เรื่องสับประรด <Pineapple>



   จากกิจกรรมนีอาจารย์ได้ให้จับกลุ่มกลุ่มละ 5 คนนำเสนอเรื่อง
อะไรก็ได้แล้วนำมาทำเป็น My Mapping ยกตัวอย่างเช่นเรื่องสับประรด
 สับประรดมีลักษณะ ส่วนประกอบ พื้นผิว รุปร่าง ประโยชน์อะไรบ้าง

 นางสาวอนิทิมล เสมมา



บทความเรื่อง : การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆกับคุณหนูๆ

อุปกรณ์


1.ปากกาหมึกซึม

2.น้ำส้มสายชูหรือน้ำมะนาว

3.กระดาษ

4.ไดร์เป่าผม

วิธีการทดลอง


1.จุ่มปากกาลงในน้ำส้มสายชูหรือน้ำมะนาวก่อนที่จะเริ่มต้นการเขียน
  แล้วเขียนตัวอักษรลงไปในกระดาษ

2 ผึ่งกระดาษไว้ให้แห้ง

3.ใช้ไดร์เป่าผมเป่ากระดาษไปเรื่อยๆแล้วตัวอักษรจะค่อยๆปรากฏขึ้น

  
ทักษะที่ได้รับในการทดลอง

  1. ทักษะการมอง โดยการสังเกตขนาด สี รูปร่าง และองค์ประกอบ
  1. ทักษะการฟังเพื่อเพิ่มความสามารถในการแยกระดับเสียงที่แตกต่างกัน
  1. ทักษะการดมเพื่อให้สามารถแยกแยะกลิ่นที่แตกต่างกัน
  1. ทักษะการลิ้มรสช่วยในการรับรู้รสชาติที่แตกต่างของอาหาร

    บทความของเพื่อน  

    1.บทความเรื่องแนวทางการสอนคิด เติมคณิตให้เด็กอนุบาล
    2.บทความเรื่องการทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆกับคุณหนูๆ 
    3.บทความเรื่องสอนลูกเรื่องพืช <Plants>
    4.บทความเรื่องการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย

    เฟรดริค วิสเฮม เฟรอเบล ผู้นำการศึกษาอนุบาลที่ได้รับขนานนามว่าเป็น “บิดาการศึกษาปฐมวัย” ด้วยการพัฒนาโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกขึ้นในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1837 เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีรูปแบบ กำหนดให้มีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสำหรับการศึกษาปฐมวัย มีการฝึกหัดครู รวมถึงการพัฒนาการสอนเด็กปฐมวัยด้วยการผลิตอุปกรณ์การสอน ที่เรียกว่า ชุดอุปกรณ์ และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียกว่า การงานอาชีพ
    เฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในสิ่งดีงาม มาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียนโดยเฉพาะประสบการณ์ที่ได้มาจากการเล่น ด้วยเหตุผลนี้เฟรอเบลจึงใช้พื้นฐานความพร้อมของเด็กในการเรียน พัฒนาการตามช่วงอายุ ธรรมชาติของเด็กและเหตุผลทางคณิตศาสตร์ที่เฟรอเบลมีความสนใจมาจัดทำเป็นชุดของเล่นและกิจกรรมสำหรับเด็กที่สอดคล้องกับวัยของเด็กโดยเรียกชื่อว่า ชุดอุปกรณ์ (Gifts) และการงานอาชีพ (Occupations)
    ชุดอุปกรณ์ หมายถึง อุปกรณ์สำหรับเด็กใช้เล่นเพื่อการเรียน ตามแนวการสอนของครู เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่าง ขนาด สี และมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับการวัด นับ การจำแนก และเปรียบเทียบ ชุดอุปกรณ์นี้ประกอบด้วยวัสดุสัมผัสได้จำนวน 10 ชุด
    การงานอาชีพ หมายถึง กิจกรรมที่ออกแบบมาใช้ในการพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น ปั้นดิน การตัด ร้อยลูกปัด การทำขนม การพับ เป็นต้น
    เฟรอเบลเปรียบเทียบการสอนเด็กว่าเหมือนกับการเพาะเมล็ดพืชที่ผู้ปลูกต้องดูแลให้เม็ดงอกงามขึ้นเป็นต้นแตกกิ่งใบและดอกผลที่สมบรูณ์ เช่นกับการพัฒนาเด็กที่ดีต้องสอดคล้องผสมผสานกลมกลืนไปกับธรรมชาติของเด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้จากง่ายไปยาก ตามความสนใจของเด็กโดยครูต้องมีแผนการสอนที่สอดคล้องกับวัย พัฒนาการและความพร้อมของเด็กในการเรียน เปิดโอกาสให้เด็กลงเล่นมือชุดอุปกรณ์อย่างอิสระ รวมถึงครูต้องประเมินพัฒนาการของเด็กโดยการสังเกตจากการทำกิจกรรมประจำวัน ในการจัดการเรียนการสอนนี้ ตารางกิจกรรมประจำวันมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเฟรอเบลเป็นผู้พัฒนาตารางกิจกรรมประจำวันขึ้น เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาที่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านคือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา แนวคิดตารางกิจกรรมประจำวันนี้จึงได้นำมาใช้ในการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน ดังนั้นการนำตารางกิจกรรมประจำวันมาใช้ สิ่งที่ครูต้องคำนึงถึงคือ “การบูรณาการ” ครูอาจผสมผสานกิจกรรมต่างๆเข้ากับการเรียนด้วยการเล่นอย่างมีความสุขนั้นก็ คือ หัวใจการศึกษาปฐมวัย
    ประเมินตนเอง

    เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถกต้องเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมความ
    สัมพันธ์มากเพราะชอบเรียนปฎิบัติมาก

    ประเมินเพื่อน

     เพื่อนคุยกันตอนอาจารย์เปิดเพลงทำให้ไม่ค่อยเข้าใจเนื้อหา แต่งช่วงทำกิจกรรมที่ต้องปฎิบัติ
    เพื่อนให้ความสนใจมาก

    ประเมินอาจารย์  

    อาจารย์เตรียมเนื้อหาการสอนมาดีมาก อาจารย์จะใช้วิธีการตั้งคำถามแล้วกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจกับเนื้อหาที่้ตรียมมา








บันทึกกิจกรรมครั้งที่ 5



สัปดาห์ที่ 5

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาร์ยผู้สอน  อาจาร์ยจินตนา สุขสำราญ
วันที่ 16 กันยายน 2557
ครั้งที่ 5   กลุุ่มเรียน 103
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. ห้องเรียน 435
                
         
     อาจารย์เปิดเพลงให้ฟังเกี่ยวกับเพลง วิทยาศาสตร์ พอเพลงจบ 
อาจารย์ได้ถามเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเกิดขึ้นเพราะอะไรเพราะนักศึก
   ษาไม่ได้ตั้งใจฟัง ทำให้ฟังเพลงไม่รู้เรื่อง เสียงที่คุยกันดังกว่าเสียงเพลงที่
   อาจารย์เปิดทำให้นักศึกษาไม่เข้าใจเนื้อหาของเพลงไม่เข้าใจเพลงที่อาจารย์
   เปิดสิ่งที่เกิดขึ้นไม่เกิดประโยชน์ต่อนักศึกษาเพราะทำให้นักศึกษาไม่เข้าใจ
   ควรปรับปรุงแก้ไขคือควรตั้งใจฟังเพลงให้จบ แล้วจับใจความเนื้อหาของเพลง
   ว่าอาจารย์ต้องการจะสื่ออะไรกับนักศึกษาแล้วนำมาตอบคำถามในห้องเรียน



บทความของเพื่อน

 1.การสอนเรื่องปรากฎการณ์ธรรมมีความสำคัญอย่างไร ?
 2.วิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย

   ทักษะที่ได้รับ

- การเรียงลำดับ
- การจำแนก
- การสังเกต

สาระที่เด็กควรเรียนรู้

- เรื่องราวเกี่ยวกับคนและสถานที่และสิ่งแวดล้อม
- ธรรมชาติรอบตัว
- สิ่งต่างๆรอบตัวเรา



สรุป ความลับของแสง < The Secret of Light >

   แสงมีความสำคัญกับตัวเรามากเพราะแสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ ซึ่งจะเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่สั้นและยาว แสงยังเคลื่อนที่ได้เร็วถึง 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที ถ้าวิ่งได้เร็วเท่าแสงจะวิ่งได้ 7 รอบต่อวินาทีแสงยังช่วยในการมองเห็นของรอบตัวเราได้เพราะแสงส่องสว่างลงมากระทบวัตถุหนึ่งต่อวัตถุหนึ่งทำให้เรามองเห็นสิ่งของได้

 การเคลื่อนที่ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที วิ่งรอบโลก 7 รอบต่อวินาที

ประเภทของวัตถุ

- วัตถุโปร่งแสง < Translocent objects>
- วัตถุโปร่งใส  < Transparent objects>
- วัตถุทึบแสง  < Opaque objects>

คุณสมบัติ

- การหักเหของแสง
- การเดินทางของแสงเป็นเส้นตรง
- การสะท้อนของแสง

ประโยชน์

 - กล้องส่องทางไกล , ทำกล้องฉาพภาพ
 -  ทำให้มองเห็นสิ่งรอบตัวได้ชัดขึ้น
-  ขยายภาพ การจุดไฟ


ประเมินตนเอง

  คุยกันในห้องทำให้อาจารย์สร้างสถานการณ์ขึ้นมา ไม่ค่อยตั้งใจฟังเพลงที่อาจารย์เปิดแต่ตั้งใจฟังเพื่อนอ่านบทความ

ประเมินเพื่อน

 เพื่อนคุยกันในขณะที่อาจารย์เปิดเพลง ทำให้อาจารย์สร้างสถานการณ์ขึ้นมาแต่เพื่อนบางกลุ่มก็ตั้งใจฟังเพลงฟังอาจารย์

ประเมินอาจารย์

 อาจารย์มีเพลงมาเปิดให้ก่อนเรียนแต่นักศึกษาไม่ตั้งใจฟังอาจารย์ได้ยกสถานการณ์ขึ้นมาและอาจารย์มีธุระให้ไปดูวีดีโอความลับของแสง






  



วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมครั้งที่ 4


สัปดาห์ที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาร์ยผู้สอน  อาจาร์ยจินตนา สุขสำราญ
วันที่ 26  สิงหาคม 2557
ครั้งที่ 4   กลุุ่มเรียน 103
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. ห้องเรียน 435


นางสาวจารุนันท์ จันขัน




บทความเรื่อง:การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 

โดย:มิสวัลลภา ขุมหิรัญ 

    วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์
ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้นการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิดทั้งความคิดเป็นเหตุ
เป็นผลคิดสร้างสรรค์คิดวิเคราะห์วิจารณ์มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความ
รูู้มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบสามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล
หลากหลากและมีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้
คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้นรวมถึงการ
นำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์มีเหตุผลมีคุณธรรมนอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความ
รู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนา
สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน 


เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง

3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ 

4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างๆ 

5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสม 

6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์มีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์
  และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ 


การจัดประสบการณ์การเรียนรู้

1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก 

2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม 

3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้สำรวจตรวจอบจำแนกสิ่งต่างๆ 

4.ส่งเสริมกระบวนการคิด 

5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ 

6.ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆ 

7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ 


สรุปการเรียน

บทความของเพื่อน

1.สนุกคิดกับของเล่นวิทยาศาสตร์
2.ทำยังไงให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์
3.วิทยาศาสตร์สำคัยอย่างไรต่ออนาคตของชาติ
4.เมื่อลูกน้อยเริ่มรู้วิทยาศาสตร์ผ่านเสียงดนตรี
5.การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

1.การเปลี่ยนแปลง <Change> 
2.การปรับตัว <Distinction>
3.การปรับตัว <Adpqtation>
4.การพึ่งพาอาศัยกัน <Dependence>
5.ความสมดุล <Equation>

  สิ่งที่อยู่ในโลกนี้จะต้องปรับตัวกันเพื่อความอยู่รอดทั้งหมด5ข้อในโลกนี้จึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาอาจจะมีความแตกต่างที่คล้ายคลึงกันและมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับตัวให้ทุกอย่างในโลกนี้เกิดความสมดุลและอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยกัน

การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์

1.ขั้นกำหนดปัญหา
2.ขั้นตั้งสมมุติฐาน
3.ขั้นทดลองและการรวบรวมข้อมูล
4.ขั้นสรุป

เจตคติทางวิทยาศาสตร์

1.ความอยากรู้อยากเห็น
2.ความเพียรพยายาม
3.ความมีเหตุผล
4.ความซื่อสัตย์
5.ความมีระเบียบและรอบคอบ
6.ความใจกว้าง

ความสำคัญและประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์

ความสำคัญ

1.เสริมสร้างประสบการณ์
2.พัฒนาทักาะกระบวนการทางวิทยาสาสตร์
3.ตอบสนองความต้องการตามวัยของเด็ก

ประโยชน์

1.พัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐาน
2.สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
3.พัฒนาทักษะแสวงหาความรู้ทางวิทยาสาสตร์

เทคนิคการสอน

1.การใช้คำถามเพื่อให้เรามีส่วนร่วม <ส่วนร่วมแบบระดมความคิด>
2.การนำเสนอบทความเพื่อนเพื่อนำมาพูดถึง วัตถุประสงค์ เป้าหมาย
  เพื่อนำมาวิเคราะห์

สิ่งที่ได้รับจากการเรียน
         
  ทำให้เราสนใจการเรียนตลอดเวลาเพราะอาจารย์จะใช้คำถามเพื่อให้เรา
คิดและตอบทำให้เรามีสมาธิในการเรียนมากขึ้นและตั้งใจเรียนมากกว่าเดิม





                                                                                                                        





บทความทางวิทยาสาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่

หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยเป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้านโดยไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้นเป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆและควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ

  อาจารย์ชุติมาเตมียสถิตหัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษาสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสสวท.หนึ่งในทีมงานที่ริเริ่มโครงการนี้กล่าวถึงที่มาของการจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยว่าจากการเยี่ยมชมโรงเรียนปฐมวัยทุกสังกัดทั่วประเทศระหว่างปีพ.ศ.2548–2549พบว่าครูปฐมวัยได้สอนวิทยาศาสตร์ในเชิงเนื้อหามากมายโดยผ่านการบอกเล่ามากกว่าที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็นและมีความกระตือรือร้นที่จะสำรวจตรวจสอบหาคำตอบ เนื้อหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ครูสอนถูกแนวคิด(concept)บ้างไม่ถูกบ้างและจากการสัมภาษณ์ครูถึงแนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ของครูพบว่าครูได้ใช้หลักสูตรปฐมวัยพ.ศ2546ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นแนวทางซึ่งได้กำหนดไว้อย่างกว้างๆในสาระที่ควรรู้4สาระปัญหาที่ครูต้องคิดต่อจากหลักสูตรนี้คือครูจะต้องตอบโจทย์ให้ได้ในว่าแต่ละสาระครูจะสอนอะไรสอนแค่ไหนสอนอย่างไรและมีสื่อการเรียนรู้อะไรบ้างที่ควรนำมาใช้

  สสวท.จึงได้รวบรวมข้อคิดเห็นเหล่านี้และได้ตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิของประเทศเช่นหม่อมดุษฎี บริพัตร ณอยุธยา หม่อมหลวงอนงค์ นิลอุบล อาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นนักการศึกษาด้านปฐมวัยแพทย์นักจิตวิทยาและนักวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษาสสวท.มาร่วมวิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัยปีพ.ศ.2546หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยของต่างประเทศและวิเคราะห์มาตรฐานหลักสูตรสาระวิทยาศาสตร์ประถมศึกษาจากนั้นได้ร่วมกันจัดทำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยเพื่อเป็นแนวทางให้ครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 
 เมื่อเสร็จแล้วได้นำกรอบมาตรฐานนี้ไปทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศโดยเชิญผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาปฐมวัยทุกภาคส่วนร่วมประชุมพิจารณ์หลักสูตรกรอบมาตรฐานหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยในปี พ.ศ.2551 “การเรียนวิทยาศาสตร์ในชั้นปฐมวัยนั้นไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาแต่มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เรื่องกระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งประกอบไปด้วยการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัวการตั้งคำถามการหาวิธีที่จะตอบคำถามโดยใช้ทักษะการสังเกตตามวัยของเด็กเมื่อเด็กได้พัฒนาทักษะในการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่ายๆตามวัยของเขาก็จะทำให้เขามีเครื่องมือสำคัญที่จะแก้ปัญหาในอนาคตของตัวเองได้เพราะเด็กจะเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผลและได้พัฒนาทักษะในการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูลสามารถที่จะเรียนรู้จากสิ่งรอบๆตัวได้ถือว่าเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตของเด็กๆในการเรียนรู้ต่อไป”ผลจากการติดตามการทดลองใช้พบว่าครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยไปจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรรู้ได้ในทุกสาระโดยสอดแทรกเข้าไปในทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสม่ำเสมอได้แต่สิ่งที่ครูยังมีความต้องการนั้นครูยังต้องการตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เยอะๆซึ่งสสวท.กำลังพัฒนาส่วนนี้อยู่

   “เราได้ทดลองแล้วพบว่ากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยนั้นตอบโจทย์ครูได้ว่าในการสอนบูรณาการวิทยาศาสตร์ครูจะสอนอะไรจะสอนแค่ไหนจะสอนอย่างไรและจะใช้สื่อรอบๆตัวเด็กนั้นมาเป็นสื่อในการเรียนรู้อย่างไรเพราะฉะนั้นคุณครูมีแนวทางสามารถที่จะจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัยได้แน่นอน”อ.ชุติมา กล่าว

  “ทุกประเทศในโลกจะสอนปฐมวัยในเชิงบูรณาการก็คือจะบูรณาการทุกวิชาไว้ด้วยกันเพราะถือว่าเด็กจะต้องพัฒนาเป็นองค์รวมแต่การที่ครูจะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการพัฒนาเด็กเป็นองค์รวมนั้นจะต้องมีมาตรฐานเป็นที่ตั้งในของแต่ละสาระเช่นคณิตศาสตร์ควรจะเรียนแค่ไหนวิทยาศาสตร์ควรจะเรียนแค่ไหน ครูก็จะยึดเอากรอบมาตรฐานมาจัดทำเป็นหลักสูตรบูรณาการปฐมวัยของตัวเองทุกประเทศจะเป็นแบบนี้ รวมทั้งประเทศเราด้วย” อ. ชุติมากล่าวทิ้งท้าย

ที่มา : นิตยสาร สสวท.www.ipst.ac.th









          

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมครั้งที่ 3



สัปดาห์ที่ 3

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาร์ยผู้สอน  อาจาร์ยจินตนา สุขสำราญ
วันที่ 26  สิงหาคม 2557
ครั้งที่ 3  กลุุ่มเรียน 103
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. ห้องเรียน 434



             เพื่อนๆนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียนเกี่ยวกับบทความ

          วิทยาศาสตร์ทั้งหมดห้าคนดิฉันจะยกตัวอย่างบทความที่
          ดิฉันสนใจมาหนึ่งบทความ

นางสาว ศิริวรรณ กรุดเนียม
กิจกรรมการแยกเมล็ดพืช

วัสดุอุปกรณ์
1.เมล็ดพืช ขนาดของเมล็ดที่แตกต่าง สี
2.ถาดหรือฝาของกระดาษที่แยดเมล็ดพืช
3.ภาชนะสำหรับใส่เมล็ดพืช

กิจกรรม
1.นำเมล็ดพืชทุกชนิดมารวมกัน
2.ให้เด็กๆแยกเมล็ด ขนาด สี ความหยาบของเมล็ด
3.ถามเด็กๆว่าใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการแยกประเภท
4.อธิบายเกี่ยวกับเมล็ดพืชว่าชนิดไหนสามารถนำไปปลูกได้ไม่ได้บ้าง

วัตถุประสงค์
1.แยกเมล็ดพืชได้อย่างน้อย 2 ลักษณะ
2.เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความแตกต่างของเมล็ดพืชมีรูปแบบลักษณะสียังไง


สรุป

การรับรู้ คือการมีความรู้เดิมแต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

การคิดมี 2 ประเภท
1.คิดเชิงสร้างสรรค์
2.คิดเชิงเหตุผล

บทความรู้
1.กระบวนการสืบเสาะ
2.วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี
3.วิทยาศาสตร์ผ่านงานศิลปะ
4.วิทยาศาสตร์การทดลอง


สรุป My Mapping ที่เรียนในวันนี้



สิ่งที่ได้รับจากการเรียน

   การที่เราได้รู้จักธรรมชาติของเด็กแต่ละช่วงอายุเราสามรถเข้าใจ
  เด็กและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมแต่ละกิจกรรมได้และมี
             ประโยชน์ในการไปใช้ฝึกสอนในอนาคตได้


วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมครั้งที่ 2


สัปดาห์ที่ 2

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาร์ยผู้สอน  อาจาร์ยจินตนา สุขสำราญ
วันที่ 26  สิงหาคม 2557
ครั้งที่ 2  กลุุ่มเรียน 103
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. ห้องเรียน 434

                  
           อาจาร์ยยกตัวอย่างเด็กปฐมวัยทำการทดลองวิทยาศาสตร์ที่เกิด
         ขึ้นในชีวิตประจำวันทั้งหมด 4 รูปภาพเพื่อทดลองหาประสบการณ์
         ให้แก่เด็กปฐมวัย
            
       วิทยาศาสตร์คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับ
         สิ่งรอบตัวและตัวตนของตัวเอง

         วิทยาศาสตร์ต้องอาศัยเครื่องมือในการเรียนรู้ 2 ประเภท
             
             1.คณิตศาสตร์
             2.ภาษา < จะเป็นเครื่องมือที่จะเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ >
             
         เด็กปฐมวัย Vs การเรียนรู้วิทยาสาสตร์

           1.วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด้กหรือไม่?
             ตอบ ไม่เป็นเพราะวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา
             สามมารถค้นคว้าและทดลองได้
     
           2.ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร?
             ตอบ ลองทดลองหาประสบการณ์และจะเป็นประสบการณ์ที่
             เด็กจดจำได้

                      สรุป My Mapping ที่เรียนในวันนี้




                          สิ่งที่ได้รับจากการเรียน
           
            เข้าใจธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อวิชาวิทยาสาสตร์
          มากขึ้นเด็กสามารถเรียนรู้สิ่งรอบตัวและทดลองหาประสบการณ์
          ต่างๆได้สามารถนแนวทางไปใช้ในการเรียนการสอนได้ในอนาคต